เมนู

สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลใน
สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล
ในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสอง
นั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะ
ในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดย
ประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า อะไรนิดหนึ่งไม่มี ย่อมบรรลุอากิญจัญญาย-
ตนะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติว่า มีอากิญจัญญาย
ตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่ง ในธรรม
วินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.
จบเมตตาสูตรที่ 4

อรรถกถาเมตตาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเมตตาสูตรที่ 4.
บทว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา เป็นต้น ทั้งหมดท่านให้พิสดาร
ไว้ในวิสุทธิมรรค โดยอาการทั้งปวงแล้ว. พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ฟัง
ธรรมเทศนาของพระศาสดาโดยนัยก่อนนั่นแล จึงกล่าวบทแม้นี้ว่า มยมฺปิ
โข อาวุโส สาวกานํ เอวํ ธมฺมํ เทสม
ดังนี้.
ความจริง ในลัทธิของพวกเดียรถีย์ การละนิวรณ์ 5 หรือการเจริญ
พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น ย่อมไม่มี. บทว่า กึ คติกา โหติ คือมีอะไร
สำเร็จ. บทว่า กิมฺปรมา คืออะไรสูงสุด. บทว่า กิมฺผลา คือมีอะไรเป็น

อานิสงส์. บทว่า กิมฺปริโยสานา คือมีอะไรจบลง. บทว่า เมตฺตาสหคตํ
ได้แก่ สติสัมโพชฌคงค์อันประกอบเกี่ยวข้องสัมยุตด้วยเมตตา. ในบททั้งปวงก็
นัยนี้แล. บทว่า วิเวกนิสฺสิตา เป็นต้น มีเนื้อความอันกล่าวแล้วแล.
บทว่า อปฺปฏิกูลํ ความว่า สิ่งไม่ปฏิกูลมี 2 อย่าง คือไม่ปฏิกูล
ในสัตว์ และไม่ปฏิกูลในสังขาร. อธิบายว่า ในสิงอันน่าปรารถนาอันไม่ปฏิกูล
นั้น. บทว่า ปฏิกูลสญฺญี คือมีความสำคัญว่า ไม่น่าปรารถนา. ถามว่า
ข้อที่เธอมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้น อย่างไร จึงอยู่อย่างนี้ได้
ตอบว่าเธอทำในใจว่า ไม่งามแผ่ไปหรือว่าไม่เทียง จึงอยู่อย่างนี้ได้. ข้อนั้น
จริง ตามที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า เธอมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่
ปฏิกูลอย่างไร เธอย่อมแผ่ไปในสิ่งอันน่าปรารถนา โดยความเป็นของไม่งาม
หรือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง. แต่เมื่อเธอทำการแผ่เมตตา หรือทำ
ในใจถึงโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งอันเป็นปฏิกูล ไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า มี
ความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลอยู่ เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีความสำคัญว่า ไม่
ปฏิกูลอยู่อย่างไร เธอแผ่ไปในสิ่งอันไม่น่าปรารถนาโดยเมตตา หรือพิจารณา
โดยความเป็นธาตุ ดังนี้. แม้ในบทที่คลุกเคล้ากันทั้งสอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็เธอเมื่อทำในใจว่า ไม่งามแผ่ไป หรือว่าไม่เที่ยง นั้นนั่นแล ทั้งในสิ่งไม่
ปฏิกูล และปฏิกูล มีความสำคัญว่า ปฏิกูลอยู่. ก็เธอทำการแผ่เมตตา หรือ
ทำในใจถึงโดยความเป็นธาตุนั้นนั่นแลทั้งในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ชื่อว่า มี
ความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลอยู่. แต่เมื่อปรารถนา ฉฬังคุเปกขาอันท่านกล่าวไว้
โดยนัยเป็นต้น ว่า ตาเห็นรูป ไม่ดีใจเลยดังนี้ พึงทราบว่า เธอแยกสิ่งทั้ง
สองนั้น ในสิ่งไม่ปฏิกูล หรือสิ่งปฏิกูลออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ
อยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น.
ก็เทศนา พึงแยกออกจากกัน เพราะมรรคโพชฌงค์ และอริยิทธิกับ
วิปัสสนา ทรงแสดงแก่ภิกษุนี้ ผู้ยังฌานหมวด 3 หรือฌานหมวด 4 ให้เกิด

แล้วด้วยเมตตา ทำฌานนั้นแลให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ส่วนภิกษุใดทำเมตตาฌานนี้ให้เป็นบาทแล้ว แม้
พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ยังไม่สามารถจะบรรลุพระอรหัตได้ เพราะเมตตา
มีพระอรหัตเป็นอย่างยิ่งไม่มีแก่ภิกษุนั้น. แต่พึงแสดงข้อที่เมตตามีพระอรหัต
เป็นอย่างยิ่งนั้น. ฉะนั้น ทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อแสดงข้อนั้น. แม้ในบทเป็น
ต้นว่า สพฺพโส วา ปน รูปสญฺญานํ สมติกฺกมฺมา พึงทราบถึงประโยชน์
ในการเริ่มต้นของเทศนา โดยนัยนี้อีกต่อไป.
บทว่า สุภปรมํ ความว่า มีความงามเป็นที่สุด มีความงามเป็น
ส่วนสุด มีความงามสำเร็จ. บทว่า อิธ ปญฺญสฺส ความว่า ปัญญาของเธอ
ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาในที่นี้ ยังล่วงโลกนี้ไม่ได้. อธิบายว่า ปัญญานั้นเป็น
โลกิยปัญญา. บทว่า อุตฺตริวิมุตฺตึ อปฺปฏิวิชฺฌโต ความว่า แทงตลอด
โลกุตรธรรมยังไม่ได้. อธิบายว่า ส่วนภิกษุใด ย่อมสามารถเพื่อแทงตลอด
ได้ ภิกษุนั้น ได้เมตตา มีอรหัตเป็นอย่างยิ่ง. แม้ในบทว่า กรุณาเป็นต้น
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสธรรมมีความงาม
เป็นอย่างยิ่งเป็นต้น แห่งธรรมมีเมตตาเป็นต้นเหล่านั้น. ตอบว่า เพราะธรรม
นั้น เป็นอุปนิสัยของภิกษุนั้น ๆ ด้วยอำนาจความเป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน.
ความจริง พวกสัตว์ ไม่เป็นสิ่งปฏิกูลสำหรับภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา. ลำดับนั้น
เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในสีเขียวเป็นต้น อันเป็นสีบริสุทธิ์ ไม่ปฏิกูล จิตย่อม
แล่นไปในสิ่งอันไม่เป็นปฏิกูลนั้น โดยไม่ยาก เมตตาเป็นอุปนิสสัยปัจจัยแห่ง
สุภวิโมกข์ ด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
สุภปรมา ดังนี้แล.
ภิกษุผู้อยู่ด้วยกรุณา พิจารณาเห็นทุกข์ของสัตว์ มีความเดือดร้อน
เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแห่งรูป. โทษในรูป จึงย่อมเป็นอันแสดง เพราะ

ความเป็นไปและความเกิดแห่งกรุณา. ลำดับนั้น เธอเมื่อเพิกซึ่งในบรรดา
กสิณ 4 มีปฐวีกสิณเป็นต้น กสิณอย่างใดอย่างหนึ่งได้แล้ว เพราะโทษแห่ง
รูปได้รู้หมดแล้ว นำจิตเข้าไปในอากาศเป็นที่สลัดรูปออก จิตย่อมแล่นไปใน
กสิณนั้นโดยไม่ยาก. กรุณาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะด้วย
อาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า อากาสานญฺจาย-
ตนปรมา
ดังนี้.
ส่วนภิกษุผู้อยู่ด้วยมุทิตา พิจารณาเห็นความรู้สึกของพวกสัตว์ผู้มี
ปราโมทย์ที่เกิดขึ้น ด้วยทำปราโมทย์นั้น จะมีความรู้สึกได้เพราะความเป็น
ไปและความเกิดแห่งมุทิตา. ลำดับนั้น เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในวิญญาณ ล่วง
อากาสานัญจายตนะที่ได้แล้วตามลำดับ แต่ยังมีอากาศนิมิตเป็นอารมณ์จิตย่อม
แล่นไปในอากาศนิมิตนั้น โดยไม่ยาก มุทิตาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิญญา-
ณัญจายตนะด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่. เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
วิญฺญาณญิจายตนปรมา ดังนี้.
ส่วนภิกษุผู้อยู่ด้วยเบกขา มีจิตลำบากด้วยยึดสิ่งที่ไม่มี เพราะไม่มี
ความห่วงใยว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงมีสุขเถิด หรือจงพ้นทุกข์เถิด หรือว่า จง
อย่าพลัดพรากจากสุขที่ถึงแล้วเถิด ดังนี้ เพราะมุ่งหน้ายึดปรมัตถ์ จากสุข
และทุกข์เป็นต้น. ลำดับนั้น เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในความไม่มีแห่งวิญญาณ
เป็นปรมัตถ์ ซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเกิดล่วงวิญญาณัญจายตนะที่ได้แล้วตามลำดับ
ของจิต ซึ่งลำบากเพราะยึดสิ่งที่มีอยู่ โดยปรมัตถ์ของจิตซึ่งมุ่งหน้ายึดปรมัตถ์
จิตย่อมแล่นไปในวิญญาณัญจายตนะนั้นโดยไม่ยาก อุเบกขาเป็นอุปนิสสยปัจจัย
แก่อากิญจัญญายตนะด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงตรัส
ว่า อากิญฺจญฺญายตนปรมา ดังว่ามาด้วยประการฉะนี้.
ในที่สุดแห่งเทศนา พวกภิกษุ 500 รูปบรรลุพระอรหัต.
จบอรรถกถาเมตตาสูตรที่ 4

5. สคารวสูตร



นิวรณ์เป็นเหตุให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง


[601] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
[602] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้
มนต์แม้ที่บุคคลกระทำการสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้อง
กล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการ. สาธยายะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็น
เหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้ง
ในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย
[603] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด
แล บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ไม่
เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
สมัยนั้น เขาไม่รู้ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์คนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์
บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง
มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่
มิได้กระทำการสาธยาย.
[604] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งระคนด้วย
สีครั่ง สีเหลือง สีเชียว สีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตน
ในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน